“มนพร” เร่งเจ้าท่าเบิกจ่ายงบฯ ปี 66 ค้างท่อ 1,600 ล้าน เสร็จสิ้นปีนี้

เมื่อวันที่4ต.ค. ที่อาคาร162ปี กรมเจ้าท่า (จท.) นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายในการขับเคลื่อนภารกิจด้านคมนาคมขนส่งทางน้ำ โดยมี นายกริชเพชร ชัยช่วย ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และรักษาราชการแทนอธิบดีกรมเจ้าท่า พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่า ให้การต้อนรับและรับมอบนโยบาย

นางมนพร เปิดเผยว่า กำชับกรมเจ้าท่าให้ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ทั่วประเทศ โดยจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย พร้อมจัดเรือและจัดเจ้าหน้าที่ให้พร้อมดูแลประชาชน รวมทั้งขอความร่วมมือเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยา ลดความเร็วในการเดินเรือเพื่อลดผลกระทบจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในสองฝั่งริมน้ำ พร้อมติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้ให้เร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณที่ค้างท้อในปีงบฯ 66 จำนวน 1,600 ล้านบาท จากที่ได้รับงบประมาณ 4,700 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายไปแล้วได้ 63% จากเป้าหมาย 100% ล่าช้าเพราะบางโครงการผู้ยื่นไม่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไข และมีการปรับเปลี่ยนแบบการก่อสร้าง เช่น โครงการเสริมทรายหาดจอมเทียน จ.ชลบุรี และหาดชะอำ จ.เพชรบุรี และโครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งแม่น้ำป่าสัก คาดว่าจะเร่งรัดการเบิกจ่ายงบที่ค้างท่อให้แล้วเสร็จในเดือน ธ.คคำพูดจาก ทดลองสล็อต ใหม่ล่าสุด. 66คำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น

นางมนพร กล่าวต่อว่า รวมทั้งการขอจัดตั้งงบประมาณปี 67 จำนวน 7,700 ล้านบาท เพื่อดำเนินการระบบโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำ และโครงการที่ดำเนินการอยู่แล้วให้มีความต่อเนื่อง เน้นการดำเนินปรับปรังท่าเรือ เช่น การพัฒนายกระดับท่าเรือโดยสารอัจฉริยะ (Smart Pier) ในแม่น้ำเจ้าพระยาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 29 ท่าเรือ และการขุดลอดร่องน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินเรือสะดวก ปลอดภัย

ทั้งนี้มีแผนพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับเรือโดยสาร เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางกับรถโดยสาร (รถเมล์) ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และรถไฟฟ้า หรือล้อ ราง เรือ เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนมากขึ้น โดยแอปนี้จะสามารถตรวจสอบตำแหน่งที่ตั้งเรือโดยสาร เส้นทางเดินเรือ และรู้ว่าอีกนาทีเรือจะมาถึง เพื่อบริหารจัดการเดินทางได้ ซึ่งเรื่องแอป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่ระหว่างการศึกษาพัฒนา เพื่อให้แล้วเสร็จ จากนั้นจะจัดทำเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) เพื่อให้เอกชนมาลงทุน และเริ่มใช้งานได้ในปี 67 โดยนำร่องใช้งานในพื้นที่กรุงเทพฯ ก่อน ขณะเดียวกันผู้ประกอบการเรือโดยสารในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จะต้องดำเนินการติดตั้งระบบจีพีเอสเรือโดยสาร เพื่อตรวจสอบเรือได้ ซึ่งกรมเจ้าท่าจะดำเนินการออกประกาศกรมฯ เกี่ยวกับอุปกรณ์ความปลอดภัยเรือโดยสารต่อไป

นอกจากนี้มอบหมายให้แก้ปัญหาเสียงจากเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยาที่กระทบประชาชนริมน้ำ โดยนำระบบเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในการบริหารจัดการด้านเสียง ซึ่งปกติกรมฯ จะใช้เครื่องตรวจวัดระดับความดังของเสียงของเรือโดยสาร เช่น เรือท่องเที่ยว โดยได้ของบประมาณปี 67 ประมาณ 80-90 ล้านบาท เพื่อดำเนินการเรื่องดังกล่าว โดยจะนำร่องในเรือโดยสารและเรือท่องเที่ยว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนต่อไป ทั้งนี้ ได้มีนโยบายให้กรมฯ ดำเนินท่าเรือสีเขียว และการใช้เรือโดยสารไฟฟ้า เพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย

ด้านนายกริชเพชร กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 67 กรมฯ ได้พัฒนายกระดับท่าเรือโดยสารอัจฉริยะ (Smart Pier) ในแม่น้ำเจ้าพระยาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 29 ท่าเรือ เพื่อให้แล้วเสร็จทั้งหมดในปี 69 ปัจจุบันสร้างท่าเรือเสร็จแล้ว 8 ท่า เช่น ท่าเรือกรมเจ้าท่า และ ท่าเรือสะพานพุทธ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 10 ท่าเรือ เช่น ท่าเรือท่าเตียน คาดเร่งรัดเปิดบริการในปีนี้ โดยในปี 67 เร่งดำเนินการปรับปรุงท่าเรือที่มีการต่อเนื่องอีก ไม่ว่าเป็นการปรับปรุงท่าเรือปากเกร็ด และท่าเรือพระราม 7