ฝรั่งเศสเตรียมส่งขีปนาวุธ-รถหุ้มเกราะช่วยยูเครนรอบใหม่
เซบาสเตียน เลอคอร์นูรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมฝรั่งเศส ระบุว่า การมอบความช่วยเหลือยูเครนรอบใหม่นี้จะประกอบไปด้วยขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานและรถหุ้มเกราะส่วนบุคคล ซึ่งกองทัพฝรั่งเศสทยอยปลดประจำการยานยนต์เหล่านี้หลายรุ่น โดยบางรุ่นใช้งานมานานกว่า 40 ปี
โดยเลอคอร์นูยืนยันว่า ยานยนต์หุ้มเกราะเหล่านี้ยังอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
ขณะที่ก่อนหน้านี้ เลอร์เคอร์นูเสนอแนวคิดส่งมอบความช่วยเหลือด้านการเก็บกู้วัตถุระเบิดและการฝึกฝนทางยุทธวิธีให้แก่ทหารยูเครนบนแผ่นดินยูเครน
แต่เผชิญกับเสียงคัดค้านอย่างหนักจากหลายประเทศ ทำให้เลอคอร์นูต้องออกมายืนยันว่า ขณะนี้รัฐบาลฝรั่งเศสไม่มีแผนดำเนินการเรื่องนี้ พร้อมทั้งย้ำว่าฝรั่งเศสไม่ต้องการมีส่วนร่วมโดยตรงในการสู้รบระหว่างระหว่างรัสเซียและยูเครน
ขณะเดียวกันเอลินา วาลโทเนน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟินแลนด์ สมาชิกใหม่ขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต สนับสนุนแนวดคิดของประธานาธิบดี เอมมานูเอล มาครง ผู้นำฝรั่งเศส เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะส่งทหารเข้าร่วมรบในสมรภูมิยูเครน
โดยวาลโทเนนระบุว่า แม้ตอนนี้ยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมในการส่งทหารเข้าร่วมรบ แต่ในระยะยาวยังไม่ควรตัดทางเลือกนี้ทิ้งไป
นอกจากนี้ วาลโทเนนยังมองว่า คำพูดของประธานาธิบดีมาครงยังเป็นวิธีการที่ดีในการสร้างความสับสนให้กับฝ่ายรัสเซียที่ต้องคอยคาดเดาระดับการสนับสนุนที่ชาติตะวันตกมอบให้กับยูเครนและการส่งทหารเข้าร่วมสงคราม
ส่วนความเคื่อนไหวของฝ่ายรัสเซีย ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ได้ลงนามในกฎหมายกฤษฎีกาเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหารในช่วงฤดูใบไม้ผลิปีนี้ สูงสุด 150,000 นาย
กฎหมายของรัสเซียระบุว่า พลเมืองชายซึ่งมีอายุตั้งแต่ 18 ปี ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารเป็นเวลา 1 ปี หรือเข้ารับการฝึกในแบบเทียบเท่า หากกำลังศึกษาอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย
โดยเมื่อเดือน ก.ค. ปีที่แล้วสภาผู้แทนราษฎรรัสเซีย ได้ปรับเพิ่มเพดานอายุสูงสุดของพลเมืองชายที่ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร จากเดิม 27 ปี เป็น 30 ปี และกฎหมายฉบับแก้ไขดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ที่ผ่านมา.
ขณะที่เมื่อวันที่ 31 มี.ค. กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียได้เรียกร้องให้ยูเครนส่งมอบตัวผู้ที่้เกี่ยวข้องกับเหตุก่อการร้ายในรัสเซียมาดำเนินคดีในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน ตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปราบปรามการวางระเบิดก่อการร้ายและสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินการก่อการร้าย
หนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาที่ทางการรัสเซียต้องการให้ยูเครนส่งตัวมาดำเนินคดีคือ วาซิล มาเลียค หัวหน้าสำนักความมั่นคงยูเครน ซึ่งเป็นหน่วยงานข่าวกรองและจารกรรม
โดยนายมาเลียคเคยระบุว่าหน่วยงานของตนอยู่เบื้องหลังการวางระเบิดโจมตีสะพาน "เคิร์ช"(Kirsch) ซึ่งเชื่อมต่อภูมิภาคไครเมียกับแผ่นดินใหญ่รัสเซีย เมื่อวันที่ 8 ต.ค. ปี 2022
ขณะที่สำนักความมั่นคงยูเครน ปฏิเสธข้อเรียกร้องของรัสเซีย พร้อมทั้งตอบโต้ว่า ประธานาธิบดี ปูติน เองก็มีหมายจับจากศาลอาญาระหว่างประเทศคำพูดจาก สล็อต777
ตรวจผลออกรางวัลสลากออมสินพิเศษ 2 ปี งวดวันที่ 1 เมษายน 2567
เปิดสถิติหวยวันสงกรานต์ ย้อนหลัง 15 ปี ประจำวันที่ 16 เมษายน คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
รอฟังข่าว! แจก "เงินดิจิทัล 10,000 บาท" ได้จริง? 10 เม.ย.67 ชัดเจน