ตัวเลขส่งออกเดือน ก.ค. ยังหดตัว 6.2% ตลาดหลักหดตัวทั้งหมด
นายกีรติรัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ แถลงข่าวภาวะการค้าระหว่างประเทศ-การค้าชายแดนและผ่านแดน เดือนกรกฎาคม 2566 และ 7 เดือนแรกของปี 2566 ระบุว่าการส่งออกของไทยในเดือนกรกฎาคม 2566 มีมูลค่า 22,143.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (764,444 ล้านบาท) หดตัว 6.2% ขณะที่ การส่งออกไทย 7 เดือนแรกของปี 2566 หดตัว 5.5%
แจกเงินดิจิทัล 10,000 นโยบายเรือธง พรรคเพื่อไทยแต่ทำได้ยาก
ส.สายการบินประเทศไทย เตรียมพบ นายกฯเศรษฐา หารือ ช่วยเหลือธุรกิจการบิน
มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนกรกฎาคม 2566 การส่งออก มีมูลค่า 764,444 ล้านบาท หดตัว 7.7% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 842,843 ล้านบาท หดตัว12.5%ดุลการค้าขาดดุล 78,399 ล้านบาท
ภาพรวม 7 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออก มีมูลค่า 5,554,796 ล้านบาท หดตัว 3.8% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 5,910,357 ล้านบาท หดตัว3.1%ดุลการค้า 7 เดือนแรกของปี 2566 ขาดดุล 355,561 ล้านบาท
สินค้าเกษตร-สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร-สินค้าอุตสาหกรรมหดตัว
มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัว 9.6% หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน โดยสินค้าเกษตร สำคัญที่หดตัว เช่น
- ยางพารา หดตัว 37.8%หดตัวต่อเนื่อง 12 เดือน
- อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปหดตัวต่อเนื่อง 7 เดือน
- น้ำตาลทราย หดตัวในรอบ 3 เดือน
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังหดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน
- ไก่แปรรูป หดตัวต่อเนื่อง 8 เดือน
- ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน
ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม มีสินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน หดตัวต่อเนื่อง 12 เดือน เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัวต่อเนื่อง 10 เดือน ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม หดตัวต่อเนื่อง 10 เดือน
ภาพรวมส่งออกตลาดสำคัญยังมีความไม่แน่นอน
อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่า ตลาดส่งออกที่เป็นตลาดสำคัญของไทยหดตัวเกือบทั้งหมด โดยภาพรวมการส่งออกไปยังตลาดสำคัญยังมีความไม่แน่นอน โดยยังคงได้รับแรงกดดันจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก
แต่แม้ว่าการส่งออกไปตลาดหลัก เช่น จีน ญี่ปุ่น อาเซียน และยุโรปจะหดตัว แต่การส่งออกไปตลาดรองส่วนใหญ่ขยายตัวได้ดี เช่น ทวีปออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ลาตินอเมริกา รัสเซียและกลุ่ม CIS สหราชอาณาจักร ขณะที่ตลาดเอเชียใต้ ยังคงหดตัวต่อเนื่อง
แนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไปคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
การส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แม้ว่าการส่งออกจะได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว การผลิตและการบริโภคชะลอลง ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า และความผันผวนของค่าเงิน
แต่คาดว่าฐานที่ต่ำในช่วงปลายปี ภาคบริการของประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัว และอานิสงส์ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ – จีน ทำให้คู่ค้าหันมานำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางตัวจากไทยทดแทนตลาดจีนมากขึ้น
ขณะเดียวกัน การส่งออกสินค้าในหมวดอาหารที่เป็นสินค้าจำเป็น มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยหลายประเทศเพิ่มการนำเข้าเพื่อรักษาความมั่นคงทางด้านอาหาร และการขนส่งที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในเส้นทางใหม่ผ่าน รถไฟไทย-ลาว-จีน จะช่วยเพิ่มโอกาสการส่งออกในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ได้อีกทางหนึ่งด้วย
ตัวเลขเราอยู่ที่22,143.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ก็ไม่ได้น่าเกลียดเท่าไหร่ ยังพอไปได้ และคงจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ เข้ามา แนวโน้มต่อจากนี้ไปถึงสิ้นปีเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้นรวมถึงเรามีรัฐบาลใหม่เข้ามาด้วย