เปิดภาพ “หัตถ์พระเจ้า” ในกลุ่มดาวท้ายเรือ ห่างจากโลก 1,300 ปีแสง
นักดาราศาสตร์เผยแพร่ภาพชวนทึ่งในอวกาศ โดยเป็นภาพเนบิวลาที่รูปร่างดูคล้ายกับสิ่งมีชีวิตขนาดยักษ์กำลังยื่นมือโปร่งแสงไปคว้าจับกาแล็กซีกังหันแห่งหนึ่ง ถือเป็นปรากฏการณ์ในจักรวาลที่ไม่ค่อยพบเห็นนักคำพูดจาก อันดับ1 เว็บสล็อตตรง
ภาพนี้ถ่ายโดยกล้องพลังงานมืด (Dark Energy Camera) ของกล้องโทรทรรศน์วิกเตอร์ เอ็ม บลังโก ที่หอดูดาวเซอร์โรโตโลโลอินเตอร์อเมริกันในประเทศชิลี โดยวัตถุในภาพคือ “ก้อนกลมดาวหาง” (Cometary Globule) ในกลุ่มดาวท้ายเรือ (Puppis) ซึ่งอยู่ห่างจากโลกราว 1,300 ปีแสง
ก้อนกลมดาวหางเป็นประเภทหนึ่งของเนบิวลามืด มีลักษณะเป็นก๊าซและฝุ่นหนาแน่นที่ล้อมรอบด้วยวัตถุที่ร้อนและมีพลัง ก้อนกลมดาวหางมีลักษณะเด่นอยู่ที่หางยาวเหมือนดาวหาง แต่นั่นเป็นเพียงสิ่งเดียวของพวกมันที่มีลักษณะคล้ายดาวหาง และนักดาราศาสตร์ยังไม่ทราบว่าก้อนกลมดาวหางเกิดขึ้นได้อย่างไร
ก้อนกลมดาวหางในภาพนี้มีชื่อว่า CG 4 เป็นหนึ่งในก้อนกลมดาวหางจำนวนมากที่พบในกาแล็กซีทางช้างเผือก มันดูเหมือนเมฆที่บิดตัวเข้าใกล้กาแล็กซีกังหัน ESO 257-19 (PGC 21338) แต่กาแล็กซีนั้นอยู่ห่างจากก้อนกลมดาวหางมากกว่า 100 ล้านปีแสง
ส่วนหัวของ CG 4 คือบริเวณที่มีลักษณะคล้ายมือ องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นฝุ่น มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 ปีแสง และมีหางยาวที่ทอดยาวถึง 8 ปีแสง
นักดาราศาสตร์ค้นพบก้อนกลมดาวหางครั้งแรกโดยบังเอิญในปี 1976 ขณะดูภาพที่ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์ชมิดต์ของสหราชอาณาจักรในออสเตรเลีย ปรากฏการณ์เหล่านี้ตรวจพบได้ยากเนื่องจากบริเวณโดยรอบมักมีความสลัวมาก และหางของก้อนกลมมักถูกบดบังจากฝุ่นดาวฤกษ์
แต่กล้องพลังงานมืดมีฟิลเตอร์พิเศษที่สามารถตรวจจับแสงสีแดงสลัวที่ปล่อยออกมาจากไฮโดรเจนที่ถูกไอออไนซ์ ซึ่งปรากฏอยู่ที่ขอบด้านนอกและส่วนหัวของ CG 4 ไฮโดรเจนจะสร้างแสงสีแดงที่เด่นชัดเช่นนี้หลังจากถูกรังสีจากดาวฤกษ์บริเวณใกล้เคียงกระทบ
แม้ว่าการแผ่รังสีของดาวฤกษ์จะทำให้มองเห็นก้อนกลมดาวหางได้ แต่รังสีนั้นก็มีผลทำลายส่วนหัวของก้อนกลมด้วยเมื่อเวลาผ่านไป อย่างไรก็ตาม ภายในก้อนกลมมีก๊าซและฝุ่นเพียงพอที่จะช่วยในการกำเนิดดาวฤกษ์หลายดวงที่มีขนาดเท่าดวงอาทิตย์ของเราคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ก้อนกลมดาวหางสามารถพบได้ทั่วกาแล็กซีของเรา แต่ส่วนใหญ่อยู่ในเนบิวลากัม (Gum Nebula) ซึ่งเป็นเมฆก๊าซเรืองแสงที่เชื่อกันว่าเป็นซากการระเบิดของดาวฤกษ์ที่ขยายตัวอย่างช้า ๆ เมื่อประมาณ 1 ล้านปีก่อน คาดว่าเนบิวลากัมมีก้อนกลมดาวหางอีก 31 ดวงนอกเหนือจาก CG 4
นักดาราศาสตร์มี 2 สมมติฐานเกี่ยวกับการก่อตัวของก้อนกลม แนวคิดแรกคือ ก้อนกลมนี้ครั้งหนึ่งเคยเป็นเนบิวลาทรงกลม เช่น เนบิวลาวงแหวน ซึ่งถูกซูเปอร์โนวารบกวนเมื่อเวลาผ่านไป
แนวคิดที่สองคือ อาจเป็นผลมาจากลมและการแผ่รังสีที่ปล่อยออกมาจากดาวฤกษ์ร้อนมวลมากใกล้เคียง โดยนักดาราศาสตร์เชื่อว่า ดาวฤกษ์อาจเป็นสาเหตุที่แท้จริงของการก่อตัว เนื่องจากก้อนกลมดาวหางทั้งหมดที่พบในเนบิวลากัมมีหางชี้ออกไปจากใจกลางเนบิวลา และที่ใจกลางเนบิวลามีเศษซูเปอร์โนวาและพัลซาร์หรือดาวนิวตรอนที่หมุนรอบตัวเร็วซึ่งก่อตัวขึ้นเมื่อดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่ยุบตัวและระเบิด
เรียบเรียงจาก CNN
ลามหนัก! ไฟไหม้ถังเก็บสารโซลีนมาบตาพุด เสียชีวิตแล้ว 1 ราย อลหม่านทั้งเมือง
วิธีรับมือภัยพิบัติสารเคมี จากเหตุเพลิงไหม้-โรงงานระเบิด และสัมผัสสารพิษ!
เริ่มแล้ว! สอบครูผู้ช่วย 2567 เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ ถึง 14 พ.ค. 67