ออสเตรเลียทุ่มงบ 1.5 พันล้านบาท ให้อาเซียนเสริมความมั่นคงในทะเลจีนใต้
วันที่ 4 ก.พ. เป็นวันแรกของการประชุมสุดยอดพิเศษระหว่างออสเตรเลียกับสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ที่เมืองเมลเบิร์น
ในวันแรกนี้ มีเวทีพูดคุยความร่วมมือทางทะเล ซึ่ง เพนนี หว่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของออสเตรเลีย ได้ประกาศจัดสรรเงินทุน 64 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (เกือบ 1.5 พันล้านบาท) ให้กับประเทศในอาเซียน เพื่อความมั่นคงทางทะเลในบริเวณทะเลจีนใต้ ซึ่งที่ผ่านมาเป็นพื้นที่พิพาทระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่กับบบางชาติของอาเซียนมาโดยตลอด
เรือรบอิตาลีถูกบีบให้ยิงขีปนาวุธฮูตีตก กลุ่มติดอาวุธลั่นพร้อมเอาคืน
จลาจลกลางเมืองหลวงเฮติ นักโทษหนีออกจากคุกกว่า 4,000 คน
การเจรจาหยุดยิงอิสราเอล-ฮามาสส่อล่ม เหตุฮามาสไม่ส่งรายชื่อตัวประกัน
“ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคของเราพึ่งพามหาสมุทร ทะเล และแม่น้ำ เพื่อการดำรงชีวิตและการพาณิชย์ รวมถึงเส้นทางเดินทะเลที่เสรีและเปิดในทะเลจีนใต้” หว่องกล่าว
หว่องไม่ได้ระบุว่า เงินทุนดังกล่าวจะถูกจัดสรรไปให้ประเทศใดบ้าง แต่ได้รับการตอบรับจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ในการ “กำหนดเขตแดนทางทะเล”
ที่ผ่านมา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม อ้างสิทธิเหนือพื้นที่บางส่วนของทะเลจีนใต้ ขณะที่จีนอ้างสิทธิเกือบทั้งหมดเหนือน่านน้ำดังกล่าว
“สิ่งที่เกิดขึ้นในทะเลจีนใต้ ในช่องแคบไต้หวัน ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทั่วอินโดแปซิฟิก ส่งผลกระทบต่อเราทุกคน” หว่องกล่าว โดยบ่งบอกเป็นนัยถึงภัยคุกคามจากจีนแผ่นดินใหญ่ต่อชาติอาเซียน
การประชุมสุดยอดพิเศษครั้งนี้ตรงกับโอกาสครบรอบ 50 ปีที่ออสเตรเลียมีสถานะเป็น “คู่เจรจา” ของอาเซียน ประกอกับพรรคแรงงานที่เป็นพรรครัฐบาลในปัจจุบัน มีเป้าหมายมานานแล้วที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น
แต่ความสัมพันธ์ของออสเตรเลียกับประเทศในอาเซียนและผลประโยชน์ในทะเลจีนใต้ก็ถูกมองผ่านเลนส์ของความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างออสเตรเลียกับสหรัฐฯ และการเป็นสมาชิกในสนธิสัญญาความมั่นคงของออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ ที่รู้จักกันในชื่อ AUKUS
ในสุนทรพจน์ของหว่อง เธออ้างถึงอดีตประธานาธิบดีอินโดนีเซีย โจโก วิโดโด ว่า “เรายังมีความรับผิดชอบในการลดความตึงเครียด ละลายน้ำแข็ง เพื่อสร้างพื้นที่สำหรับการเจรจา เชื่อมความแตกต่าง”
อินโดนีเซีย พร้อมด้วยมาเลเซีย เป็นหนึ่งในพันธมิตรของออสเตรเลีย ที่ได้หยิบยกข้อกังวลว่า การลงทุนหลายหมื่นล้านดอลลาร์ของออสเตรเลียในเรือดำน้ำนิวเคลียร์ อาจมีส่วนทำให้เกิดการแข่งขันด้านอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียแปซิฟิกในวงกว้าง
ความเคลื่อนไหวของออสเตรเลียเกิดขึ้นท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างฟิลิปปินส์และจีนที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง
ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เฟอร์ดินันด์ มาร์กอส จูเนียร์กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า จะยืนหยัดแน่วแน่ต่อจุดยืนของประเทศในทะเลจีนใต้ “ผมจะไม่ยอมให้มหาอำนาจต่างชาติพยายามเข้ายึดดินแดนอธิปไตยของเราแม้แต่ตารางนิ้วเดียว”
ฟิลิปปินส์รายงานเหตุขัดแย้งหลายครั้งกับจีนในทะเลจีนใต้ โดยกล่าวหาว่าหน่วยยามชายฝั่งของจีนใช้อุบายที่เป็นอันตราย เช่น การยิงปืนฉีดน้ำแรงดันสูงใส่กองเรือในทะเลจีนใต้ หรือบังคับเรือเคลื่อนที่ในลักษณะที่เป็นอันตราย
“ความท้าทายที่เราเผชิญอาจน่ากลัว แต่สิ่งที่น่ากลัวพอ ๆ กันคือความมุ่งมั่นของเรา เราจะไม่ยอมแพ้” เขากล่าว
เรียบเรียงจาก Al Jazeeraคำพูดจาก เว็บสล็อต มาแรงอันดับ 1
ผลบอลพรีเมียร์ลีก แมนซิตี้ แซงชนะ แมนยู 3-1 โฟเด้น เบิ้ล
“โยเกิร์ต” มูฟออน! ลบเกลี้ยงทุกอย่างเกี่ยว “พีเค” ด้านนางแบบเวียดนามเคลื่อนไหว หลังถูกเอี่ยวดราม่า
กยศ.คืนเงินลูกหนี้ 3,494 ราย 97 ล้านบาท หลังใช้เกณฑ์คำนวณหนี้ใหม่